วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


การปกครองสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
รูปแบบการปกครองของไทยแต่สมัยเดิมมามีการเปลี่ยนแปลงไม่มากนักโดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาตลอดระยะเวลาเกือบ 500 ปี มิได้การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการปกครองขนานใหญ่แต่อย่างใดจนถึงรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงรัตนโกสินทร์อันเป็นระยะที่ประเทศไทย ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นกว่าแต่ก่อนวัฒนธรรมและอารยธรรมต่างๆได้หลั่งไหลเข้ามาสู่ประเทศไทยประกอบกับอิทธิพลในการแสวงหา เมืองขึ้นของชาติตะวันตกที่สำคัญ 2 ชาติ คืออังกฤษและฝรั่งเศสกำลังคุกคามเข้ามาใกล้ประเทศไทยประการสำคัญที่สุดก็คือพระอัจฉริยะของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงคาดการณ์สำคัญในอนาคตอย่างถูกต้อง จึงได้ดำเนินรัฐประศาสนโยบายนำประเทศไทยให้พ้นวิกฤตการณ์ จากการคุกคามทางการเมืองมาได้นำประเทศไทยสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่อันเป็นสำคัญที่เป็น รากฐานในการปกครองปัจจุบัน
การปฏิรูปการบริหาร (Administrativereform) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2435 นี้นับว่าเป็นการปฏิรูปการปกครองการบริหารที่สำคัญของชาติไทยและนำความเจริญรุ่งเรืองนานัปมาสู่ประเทศชาติและปวงชาวไทย ดังจะกล่าวถึงมูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการปฏิรูปการ การปกครองดังกล่าวต่อไป
ด้านการปกครอง กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
1. การปกครองในราชธานี หรือระเบียบบริหาราชการส่วนกลาง ยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่ 1.1 ฝ่ายทหาร คือเสนาบดีกรมพระกลาโหม ( สมุหพระกลาโหม ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายใต้ ใช้ตราคชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง 1.2 ฝ่ายพลเรือน คือ เสนาบดีกรมมหาดไทย ( สมุหนายก ) มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชา ดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ ใช้ตราราชสีห์เป็นตราประจำตำแหน่ง นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งเสนาบดีจตุสดมภ์ ช่วยบริหารงาน 4 ฝ่าย ประกอบด้วย1.2.1 กรมพระนครบาล ( กรมเวียง )1.2.2 กรมพระธรรมาธิกรณ์ ( กรมวัง ) 1.2.3 กรมพระโกษาธิบดี ( กรมคลัง )1.2.4 กรมพระเกษตราธิการ ( กรมนา )กรมเวียง หรือ กรมเมือง เสนาบดีคือ พระยายมราช มีอำนาจหน้าที่ปกครองดูแลราษฎรในเขตกรุง รักษาความสงบเรียบร้อยและปราบโจรผู้ร้าย มีตราพระยมทรงสิงห์ เป็นสัญลักษณ์ประจำตำแหน่งกรมวัง เสนาบดี คือ พระยาธรรมา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการในราชสำนัก จัดการพระราชพิธีทั่วไป รวมทั้งพิจารณาคดีที่พระมหากษัตริย์จะต้องวินิจฉัยด้วย จึงได้นามอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมาธิกรณ์ หมายถึง ผู้วินิจฉัยคดีพิพาท ให้เป็นธรรม ใช้ตราเทพยดาทรงพระนนทิการ (เทวดาทรงพระโค ) เป็นสัญลักษณ์กรมคลัง หรือ กรมท่า มีอำนาจหน้าที่ บังคับบัญชาหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก ใช้ตราบัวแก้วเป็นสัญลักษณ์ แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบเป็น ฝ่ายการเงิน มีหัวหน้าคือ พระยาราชภัคดีฝ่ายการต่างประเทศ มีหัวหน้าคือ พระยาศรีพิพัฒน์ฝ่ายตรวจบัญชีและดูแลหัวเมืองชายทะเลตะวันออก มีหัวหน้าคือ พระยาพระคลังกรมนา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าว ค่านา จัดเก็บและรักษาเสบียง อาหารสำหรับพระนคร พิจารณาคดีเกี่ยวกับที่นา ใช้ตราพระพิรุณทรงนาคเป็นสัญลักษณ์
2. การปกครองหัวเมือง หรือ ระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองหัวเมือง คือการบริหารราชการแผ่นดินตามหัวเมืองต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภท2.1 หัวเมืองชั้นใน2.2 หัวเมืองชั้นนอก2.3 หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองชั้นใน เดิมเรียกว่าเมืองลูกหลวงหรือเมืองหน้าด่าน เมืองชั้นใน จะตั้งอยู่รอบเมืองหลวง ถือว่าเป็นบริวารของเมืองหลวง เมืองชั้นในไม่ได้เป็นเมืองอย่างแท้จริง เพราะไม่มีเจ้าเมืองปกครอง มีแต่ผู้รั้ง หรือ จ่าเมือง ทำหน้าที่ดูแล ไม่มีอำนาจอย่างเจ้าเมือง การบริหารงานต้องรับคำสั่งจากเสนาบดีจัตุสดมภ์ หรือฟังคำสั่งจากเมืองหลวง หัวเมืองชั้นใน มีความสำคัญเป็นเมืองระดับชั้นจัตวา
หัวเมืองชั้นนอก เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้จัดแบ่งเป็นระดับชั้น ตามขนาด จำนวนพลเมือง ความสำคัญ แบ่งเป็นชั้นเอก ชั้นโท ชั้นตรี และอาจมีเมืองเล็ก ๆ ( เมืองชั้นจัตวา ) อยู่ใต้สังกัด เจ้าเมืองเหล่านี้ มีอำนาจสิทธิ์ขาดในเมืองของตน แต่ต้องปฏิบัติตามพระราชโองการและนโยบายจากเมืองหลวงตามเขตความรับผิดชอบกล่าวคือหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือและภาคอิสาน อยู่ในความรับผิดชอบของสมุหนายกหัวเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ อยูในความรับผิดชอบของสมุหกลาโหมหัวเมืองชายทะเลภาคตะวันออก อยู่ในความรับผิดชอบของ กรมท่า ( พระยาพระคลัง )หัวเมืองที่สังกัดกรมท่า มี 9 เมือง ได้แก่ นนทบุรี สมุทรปราการ สาครบุรี สมุทรสงคราม ชลบุรี บางละมุง ระยองจันทบุรี ตราดเมืองชั้นเอก พระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมืองเอง ในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ พิษณุโลก นครราชสีมา นครศรีธรรมราช ถลาง และสงขลาเมืองชั้นโท ตรี และจัตวา เสนาบดีที่รับผิดชอบเป็นผู้แต่งตั้งเจ้าเมือง
หัวเมืองประเทศราช หรือ เมืองขึ้น เป็นเมืองของชาวต่างชาติต่างภาษา หรือ ประเทศเหล่านั้นยอมอยู่ภายใต้การคุ้มครองของไทย มีเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ ปกครองกันเอง ตามจารีตประเพณีของแต่ละชาติ การเป็นเจ้าเมืองหรือกษัตริย์ จะต้องบอกหรือเข้ามากราบบังคมทูล ขอให้เป็นผู้แต่งตั้งให้ โดยเมืองขึ้นมีหน้าที่ส่งเครื่องราชบรรณาการ และต้องถวายต้นไม้เงินต้นไม้ทองมาให้ โดยปรกติจะจัดส่ง 3 ปีต่อครั้ง ต้องเกณฑ์ทัพมาช่วยถ้ามีศึกสงครามประเทศราชในสมัยรัชกาลที่ 1 ได้แก่ ล้านนา (เชียงใหม่ ) ล้านช้าง หรือ ลาว ( หลวงพระบาง เวียงจันทน์ จำปาศักดิ์ ) เขมร ( กัมพูชา ) หัวเมืองมลายู ( ปัตตานี ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู )
ด้านกฎหมายและการศาลไทยกฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตกัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพรมหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสินพระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์จะตราพระราชกำหนดกฎหมายใด ๆ ต้องคำนึงถึงพระธรรมศาสตร์ จะทรงตรากฎหมายให้ขัดกับพระธรรมศาสตร์ไม่ได้ กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดีในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดข้าทูลละอองธุลีพระบาท ประกอบด้วยอาลักษณ์ 4 นาย ฝ่ายลูกขุน 3 นาย ฝ่ายราชบัณฑิต 4 นาย รวม 11 นาย ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่า กฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1

การจัดระเบียบการปกครอง
สมัยรัชกาลที่ 4
ในสมัยนี้ระบบการการปกครองประเทศยังคงเหมือนสมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3 คือแบ่งการปกครองเป็นเป็นส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
สมัยรัชกาลที่ 5
รัชกาลที่ 5 ขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนม์อายุได้ 15 พรรษา มีเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ในสมัยของพระองค์ได้มีการปรับปรุงระบบการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ดังต่อไปนี้
ก.การปฏิรูปการปกครอง
1. ส่วนกลาง ให้ยกเลิกตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีและจตุสดมภ์ และให้แบ่งหน่วยการปกครองออกเป็น 12 กรม (ภายหลังเปลี่ยนเป็นกระทรวง) ดังนี้ กรมมหาดไทย กรมกลาโหม กรมการต่างประเทศ กรมนครบาล กรมวัง กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมเกษตรและพาณิยการ (เกษตราธิการ) กรมยุติธรรม กรมยุทธนาะการ กรมธรรมการ กรมโยธาธิการ และ กรมมุรธาธิการ (ต่อมาภายหลังได้ยุบกรมยุทธนาธิการไปรวมกับกรมกลาโหมและยุบกรมมุรธาธิการไปรวมกับกรมวัง ดังนั้นตอนปลายรัชกาลที่ 5 จึงมีเพียง 10 กรม (หรือกระทรวงในภายหลัง)
2. ส่วนภูมิภาค ให้ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมือง โดแบ่งท้องที่ต่างๆ จากเล็กไปหาใหญ่ คือ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เมือง (จังหวัด) และมณฑล (รวม 4-6 เมืองเป็นหนึ่งมณฑล) และแต่งตั้งข้าหลวงเทศาภิบาลเป็นผู้ปกครองมณฑล เรียกการปกครองแบบนี้ว่า การปกครองแบบเทศาภิบาล นับเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือราชธานี ผู้มีส่วนช่วยเหลือในการปฏิรูปการปกครองคือ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (บิดาแห่งการปกครองไทย)
สาเหตุที่ได้มีการปฏิรูประบบการปกครองใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะขณะนั้นมหาอำนาจทางตะวันตกโดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส กำลังขยายลัทธิจักรวรรดินิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียจึงต้องปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยเพื่อให้อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของชาติตะวันตก
ข. ตั้งสภาที่ปรึกษา
รัชกาลที่ 5 ได้ตั้งสภาที่ปรึกษาขึ้นมา 2 สภาคือ
1. ปรีวี เคาน์ซิล (องคมนตรีสภา) มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาเกี่ยวกับราชการส่วน พระองค์
2. เคาน์ซิล ออฟสเตท (รัฐมนตรีสภา) มีหน้าที่ออกกฎหมายและถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วๆ ไป
ค. การเคลื่อนไหวเตรียมการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบประชาธิปไตย
การเสนอคำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดิน ร.ศ.103 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีกลุ่มบุคคลประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการซึ่งเป็นคนไทยรุ่นแรกที่ได้ไปศึกษาต่างประเทศและได้เห็นรูปแบบการปกครองของชาวยุโรปเป็นแบบประชาธิปไตย จึงพร้อมใจกันเสนอคำกราบบังคมทูลดังกล่าว แต่รัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริว่าเมืองไทยขณะนั้นยังไม่พร้อมควรค่อนเป็นค่อยไปโดยเริ่มจากการให้การศึกษาแก่ประชาชนก่อน
สมัยรัชกาลที่ 6
1. เกิดกบฏ ร.ศ.130 ด้วยมีคณะบุคคลคิดจะทำการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยมี ร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) เป็นหัวหน้า ประกอบด้วยทหารปก ทหารเรือ และพลเรือนกลุ่มหนึ่งจะเรียกร้องให้รัชกาลที่ 6 อยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาปนาประชาธิปไตยขึ้น แต่ไม่สำเร็จและไม่ทันดำเนินการก็ถูกจับเสียก่อน
2. รัชกาลที่ 6 ทรงวางรากฐานการปกครองแบบประชาธิปไตย โปรดให้ตั้งดุสิตธานี (หมายถึง นครจำลองที่สมมติขึ้นมา) ทดลองจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยเริ่มครั้งแรก พ.ศ.2461 ในเขตพระราชวังดุสิต ในนครสมมติได้แบ่งเป็นเขตอำเภอต่างๆ มีสถานที่ทำการของรัฐบาล มีสถาบันสังคม ศาสนา เศรษฐกิจ มีร้านค้าบ้านเรือนราษฎร ประชาชนที่อยู่ในนครสมมติจะมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีผู้แทนราษฎร ทำนองเดียวกับประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญ มีหนังสือพิมพ์ คอยติชมวิพากวิจารณ์ สมัยนั้นมีอยู่ 3 ฉบับ เป็นหนังสือพิมพ์รายวัน 2 ฉบับคือ ดุสิตสมัยและดุสิตรีคอร์เดอร์ และรายสัปดาห์ 1 ฉบับชื่อ ดุสิตสมิต
3. ให้รวมมณฑลหลายๆ มณฑลเป็นภาคและให้เรียกจังหวัดแทนคำว่าเมือง
สมัยรัชกาลที่ 7 (ก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
ทรงตระหนักถึงความปราถนาของคนรุ่นใหม่ ที่ได้รับการศึกษาจากต่างประเทศทางตะวันตกที่จะให้มีการปกครองแบบประชาธิปไตย และพระองค์เคยมีพระราชดำริที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชนอยู่แล้ว แต่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทัดทานไว้ว่ายังไม่ถึงเวลาอันควร เพราะราษฎรยังไม่เข้าใจระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยดีพอ อาจเกิดความเสียหายภายหลังได้ ขณะที่ยังรีรออยู่นั้นก็มีคณะบุคคลคณะหนึ่งใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร์" ได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเสียก่อน เมื่อเช้าตรู่ของวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ขณะที่รัชกาลที่ 7 ประทับอยู่ที่พระราชวังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
การปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญในไทย( สมัยประชาธิปไตย)
การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งนี้ที่สำคัญคือ ไทยได้รับการกระทบกระเทือนจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของโลกประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งเกิดจากความไม่พอใจของข้าราชการ และประชาชนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภาวะทางเศรษฐกิจ
คณะราษฎร์ครั้งนี้จึงประกาศนโยบายเพื่อเป็นหลักในการปกครองประเทศ 6 ประการ
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ทางศาล ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของ ประชาชนไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้ประทุษร้ายต่อกันน้อยลง
3. จะต้องบำรุงความสุขสบาย สมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดให้ ราษฎรมีงานทำทุกคน จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎร อดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอกัน
5. จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาเต็มที่แก่ราษฎร
ลักษณะการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร์
คณะราษฎร์ได้แต่งตั้งคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเดช และพันเอกพระยาฤทธิอาคเณย์ เป็นผู้บริหารประเทศ
ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวกำหนด อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎรทั้งหลาย ไม่ใช่เป็นพระมหากษัตริย์แต่พระองค์เดียว การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคล คณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ
1.พระมหากษัตริย์
2.สภาผู้แทนราษฎร
3.คณะกรรมการราษฎร
4.ศาล
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร อำนาจบริหารทรงใช้ร่วมกับคณะกรรมการราษฎร และทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
วิวัฒนาการการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทย (พ.ศ. 2475 – ปัจจุบัน)
ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย นับตั้งแต่วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน นับเป็นเวลา 70 ปี แต่ความเป็นประชาธิปไตยในลักษณะการปกครองทั้งที่เป็นอุดมการณ์วิถีปฏิบัติ ตลอดจนรูปแบบการปกครองยังไม่มั่นคงเท่าที่ควร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมอีกหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน
ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญรวม 17 ฉบับ ทั้งนี้เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยประสบกับปัญหาต่าง ๆ ทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และอื่น ๆ หลายประการ ทำให้การปฏิบัติการในวิถีประชาธิปไตยไม่เป็นไปตามปณิธานที่ตั้งไว้ มีเหตุการณ์อันสำคัญเกิดขึ้นเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการเสมอมา อาทิเช่น การปฏิวัติ รัฐประหาร ยกเลิกกฎหมายรัฐธรรมนูญ ยุบรัฐสภา ฯลฯ ดังจะได้นำความเป็นมาขององค์ประกอบที่สำคัญของประชาธิปไตย รูปของรัฐสภา รัฐบาล ตลอดจนอุปสรรคปัญหาที่สำคัญต่าง ๆ เพื่อให้เห็นการวิวัฒนาการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยของไทยประจักษ์ชัดขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น